9 ข้อ น่ารู้กับโปรแกรม Scratch

1. Scratch จุดเด่นเรื่องการสร้างสรรค์ (Creativity)
โปรแกรมนี้ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือในการสร้างชิ้นงานอย่างอย่างง่าย เพื่อตอบสนองแรงบันดาลใจและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผ่านการใช้สื่อต่างๆ ทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว โดยเล่าเรื่องผ่านการสร้างโปรเจกต์ต่างๆ เช่น แอนิเมชัน เกม ดนตรี ทำให้ผู้เรียนสนุกกับการเรียนรู้และสนุกกับการสร้างสรรค์ผลงานของตนเอง
2. Scratch ศูนย์รวมเพื่อน (Community)
เป็นโปรแกรมที่สามารถโชว์ผลงานของตนเอง โดยผู้เรียนสามารถแชร์ Code เข้ากับเครือข่ายเพื่อนๆ ทั่วโลกที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และความคิดเห็นกันผ่านเว็บไซต์ https://scratch.mit.edu/
3. Scratch ฝึกการนำเสนอผ่านสื่อที่หลากหลาย
ผลงานเป็นส่วนสำคัญของการนำเสนองานผ่านการเรียนรู้ สำหรับโปรแกรม Scratch ซึ่งประกอบไปด้วยโจทย์ปัญหาที่ง่ายไปถึงโจทย์ที่ซับซ้อน เช่น การสร้างแอนิเมชัน, การเล่าเรื่องผ่านMV, การสร้างเกม ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์และเลือกนำเสนอผลงานได้อย่างหลากหลาย
4. Scratch ตัวช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราวของตนเอง
ผู้เรียนได้ประยุกต์ความรู้ในการเล่าเรื่อง (Storytelling) เพื่อถ่ายทอดผลงานในรูปแบบของตนเองผ่านการสร้างโปรเจกต์ในรูปแบบต่างๆ
5. Scratch ช่วยพัฒนาระบบการคิดและการแบ่งย่อยปัญหา (Decomposition)
การแยกส่วนประกอบเป็นวิธีคิดรูปแบบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ เป็นการพิจารณาเพื่อแบ่งปัญหาหรืองานออกเป็นส่วนย่อย ทำให้สามารถจัดการกับปัญหาหรืองานได้ง่ายขึ้น
6. Scratch เรียนรู้ง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนเขียน
โปรแกรม Scratch เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับนักเรียนที่เริ่มต้นจับเครื่องมือ หรือเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรม เนื่องจากตัวโปรแกรมถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการเรียนรู้ สร้างความสนุกสนานให้กับผู้เรียนผ่านการสร้างโปรเจกต์ต่างๆ
7. Scratch สอนเขียนโปรแกรมผ่านรูปแบบ Block – Based Programming
Block – Based Programming คือการเขียนโปรแกรมโดยการนำ block ของคำสั่งมาต่อ ๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น คำสั่งต่าง ๆ ที่ต่อกันจะถูก Execute ทีละคำสั่ง โดยที่การต่อจะมีข้อกำหนดของการต่อเพิ่มเติมเล็กน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของ input และ output ของคำสั่งนั้นๆ
8. Scratch ต่อยอดทักษะของภาษา Coding
ผู้เรียนสามารถแยกย่อยปัญหาผ่านการเขียนโปรแกรมแบบ Block – Based Programming ทำให้สามารถมองเห็นรูปแบบการพิมพ์ Code ได้ง่ายขึ้น ทำให้ผู้เรียนก้าวสู่การเขียนภาษา Coding ในระดับที่สูงขึ้นได้
9. Scratch กับการเรียนในปัจจุบันของไทย
Scratch ได้ถูกบรรจุให้แนะนำใช้ในกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในสาระที่ 4 เทคโนโลยี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)